วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โรคหูดหงอนไก่(HPV)

หูดหงอนไก่(Condyloma acuminatum)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่ใช่มีแค่ “โรคเอดส์” , “โรคซิฟิลิส” และ “หนองใน” เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายโรคที่แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าใครเป็นขึ้นมาก็ทำลายความมั่นใจไปได้มากทีเดียว อย่างเช่น หูดที่อวัยวะเพศ หรือ “หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังพบได้มากในปัจจุบัน แถมยังสามารถกลับมาเป็นได้ซ้ำ ๆ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าไม่มีใครอยากเป็นแน่ ๆ
โรคหูดหงอนไก่ คืออะไร
โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่ที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)
หูดหงอนไก่หรือหูดที่อวัยวะเพศก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังคงพบได้ มากในปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์การป้องกันดีอย่างไรก็ตาม แต่เนื่องจากลักษณะนิสัยของไวรัสต้นเหตุที่เรียกว่าฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส (เอชพีวี)ที่ถ่ายทอดถึงกันได้ง่ายโดยผู้ที่ให้เชื้ออาจจะไม่มีอาการอะไรเลย และผู้รับเชื้ออาจได้รับเชื้อนั้นมานานหลายปีกว่าจะเกิดอาการ ในปัจจุบันพบว่าหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 1 มีหูดหงอนไก่ โดยจะพบรอยโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ทำลายความมั่นใจในชีวิตอย่างมาก รวมทั้งต้องเสียเงินและเวลาในการรักษามากมาย แต่สุดท้ายกลับพบว่า ร้อยละ 30- 70 เกิดซ้ำหลังจากหยุดการรักษาไป 6 เดือน
จุดสังเกตที่ทำให้วินิจฉัยได้ว่าเป็น “หูดหงอนไก่” นั้นก็คือ หูดจะมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรือแบบหงอนที่หัวไก่ชน เป็นติ่งเนื้ออ่อน ๆ สีชมพู
ลักษณะหูดหงอนไก่
สาเหตุของการติดโรคหูดหงอนไก่
แม้ “หูดหงอนไก่” จะจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่จริง ๆ แล้ว แม้จะไม่มีเพศสัมพันธ์ก็สามารถรับเชื้อนี้เข้าไปได้โดยการสัมผัส เพราะเชื้อเหล่านี้อาจพบได้ตามร่างกาย ผม ซอกเล็บ เครื่องใช้ต่าง ๆ บางคนอาจนำสิ่งของ หรือมือที่เปื้อนเชื้อไวรัส HPV มาสัมผัสอวัยวะเพศ ก็สามารถติดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับผิวหนังเป็นช่องทางติดต่อที่พบบ่อยที่สุด ส่วนการใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว สบู่ รวมทั้งการสัมผัสหรือเกา แล้วไปสัมผัสบริเวณอื่น เป็นปัจจัยรองลงมา โดยมีระยะฟักตัวนาน 1-6 เดือน
ตำแหน่งที่พบโรคหูดหงอนไก่
โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง
หูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่


หูดในช่องปาก
ลักษณะของหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่จะมีลักษณะแบน สีออกชมพูหรือดำ มักจะเป็นติ่งงอกขยายใหญ่ เกิดได้หลายๆแห่งโดยเฉพาะบริเวณอับชื้น

หูดหงอนไก่ในช่องปาก
หูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่

อาการของโรคหูดหงอนไก่
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหูดหงอนไก่
2. ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหงอนไก่หลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
3. อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดหงอนไก่ คือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
4. สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
5. ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก
โรคหูดหงอนไก่นี้พบบ่อยแค่ไหน
1. โรคหูดหงอนไก่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ ทุกเพศ ทุกวัย พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว
2. ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่น โรคเอดส์ โรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดหงอนไก่ใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกซ้อน
3. โรคหูดหงอนไก่นี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
แพทย์จะตรวจหาหูดหงอนไก่ได้ที่ไหนบ้าง
สำหรับผู้ชาย
1. พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
2. ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
3. หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
4. สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะพบก้อนเนื้อหูดหงอนไก่บริเวณรอบทวารหนัก
หูดหงอนไก่
สำหรับผู้หญิง
1. ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
2. แคมใหญ่ แคมเล็ก
3. ช่องคลอด
แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง
การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ
1. หนองในแท้ หนองในเทียม
2. โรคเอดส์
3. โรคซิฟิลิส
4. ตรวจภายในทำ PAP Smear
5. ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
6. การตัดชิ้นเนื้อตรวจ
PAP Smear
วิธีรักษาโรคหูดหงอนไก่
หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดหงอนไก่ออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดหงอนไก่ออกจะลดการติดต่อลง
1. การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
2. การใช้ไฟฟ้าจี้
3. การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
4. การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
5. การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
6. การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วัน

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์รักษาหูด-หูดหงอนไก่ คลิก

ขั้นตอนการสั่งซื้อ Aldara cream 5% คลิก

วิธีใช้ Aldara cream 5% คลิก

ยารักษาหุดหงอนไก่
Podophyllin (ใช้โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์-ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์)

สั่งซื้อ Podophylin Paint,co. คลิก



"หากท่านกำลังตั้งครรภ์ หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบเพื่อจะได้เลือกวีธีการรักษาที่จะไม่เป็นอันตรายต่อตัวท่านเองและต่อทารกของท่าน"

ใช้เวลาเท่าไรในการรักษาโรคหูดหงอนไก่
หูดระยะเริ่มแรก อาจจะใช้ระยะเวลา 1-2 เดือน  หรือรักษาจนกว่ารอยโรคจะหาย
หูดที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขึ้นบริเวณส่วนต่างๆที่เป็นจุดอับ จะใช้เวลานาน การรักษาที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง

วิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคหูดหงอนไก่
1. งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด
2. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
3. ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
4. หากผู้ที่มีหูดหงอนไก่ควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
5. ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
หลายคนอาจจะคิดในใจว่า ในเมื่อหูดหงอนไก่เป็นโรคที่ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การไม่มีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิตใช่ไหมล่ะ ความคิดนี้ก็ถูกต้องครึ่งหนึ่งครับ เพราะจริง ๆ แล้ว แม้จะไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่หากมีการสัมผัสอวัยวะเพศภายนอกอย่างรุนแรงด้วยวัตถุ หรืออวัยวะที่มีเชื้อไวรัส HPV ตัวนี้อยู่ ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
แล้วการใส่ถุงยางอนามัยล่ะ จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้หรือไม่? คำตอบก็คือ แม้ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันโรคเอดส์ หนองใน ได้ทางหนึ่ง แต่สำหรับโรคหูดหงอนไก่อาจจะช่วยป้องกันไม่ได้เท่าไรนัก เพราะเชื้อ HPV นี้ จะกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทั้งทวารหนัก ฝีเย็บ หัวเหน่า ฯลฯ ซึ่งเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยไม่ครอบคลุมนั่นเอง ฉะนั้นแล้ว หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อหูดหงอนไก่นี้อยู่ในตัวก็ถือว่าเสี่ยงต่อ การเป็นหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน!


ที่มาบทความ :
http://www.si.mahidol.ac.th
http://www.inderm.go.th
http://www.haamor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น