หูดที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศที่เรียกว่า
หูดหงอนไก่ หรือหูดอวัยวะเพศ หรือหูดกามโรค (Condyloma acuminata หรือ Genital wart) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Human papilloma virus หรือย่อว่า HPV (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง
เอชพีวี:โรคติดเชื้อเอชพีวี) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด
จากการเก็บข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า
ในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นหูดหงอนไก่ ที่มาทำการรักษาคิดเป็นประมาณ 1% ของจำนวนประ ชากรทั้งหมด โดยพบมากในกลุ่มอายุ 17-33 ปีทั้งชายและหญิง
ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดหูดหงอนไก่?
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดหูดหงอนไก่ คือ
● ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย มีโอกาสติดเชื้อ HPV จากคู่นอนที่เป็นโรคนี้ได้
●
เนื่องจากหูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากพบหูดหงอนไก่ในเด็ก
จำเป็นต้องสืบหาเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเราเด็กด้วย
● การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังน้อย
เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่มีอาการอย่างไร?
อาการของหูดหงอนไก่ คือ
● รอยโรคที่เกิดหูดหงอนไก่ อาจมีอาการคัน
หรือไม่มีอาการใดๆเลยก็ได้
● บริเวณที่พบ
เนื่องจากหูดหงอนไก่พบได้ตามเนื้อเยื่อร่างกายชนิดที่สามารถสร้างเมือกที่เรียก ว่า
เนื้อเยื่อเมือก (Mucosa) จึงพบหูดหงอนไก่เกิดได้ที่
อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก ในลำคอ
และสามารถพบเกิดได้หลายๆตำแหน่งในผู้ป่วยรายเดียวกัน เช่น
ผู้ป่วยที่พบรอยโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หากมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
ก็อาจพบโรคในบริเวณทวารหนักด้วย
● ลักษณะรอยโรค
มีได้หลายรูปแบบทั้งขนาดและรูปร่าง อาจมีลักษณะเป็นตุ่มเดียว, หลายตุ่ม, หรือมีขนาดใหญ่คล้ายดอกกะหล่ำ, หรือหงอนไก่, สีชมพู หรือสีเนื้อผิวขรุขระ
● อาการของโรคจะเป็นมาก/ก้อนเนื้อหูดใหญ่ขึ้น
และ/หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในคนท้อง หรือในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง
โรคหูดหงอนไก่ก่อผลข้างเคียงอย่างไร?
นอกจากลักษณะของรอยโรคของหูดหงอนไก่
ที่ทำให้เกิดความไม่น่าดูแล้ว สำหรับการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรง เช่น HPV สายพันธ์ 16, 18 ยังทำให้เกิดโรคมะเร็งในระบบสืบ
พันธุ์ และมะเร็งทวารหนักได้ ส่วนผลข้างเคียงอื่นขึ้นกับตำแหน่งของรอยโรค เช่น
อาการเลือด ออกหลังมีเพศสัมพันธ์
อาจมีสาเหตุจากเลือดที่ออกจากหูดหงอนไก่ภายในปากมดลูกได้
หรือมารดาที่คลอดบุตรขณะมีรอยโรค ก็อาจทำให้ทารกติดเชื้อ HPV ได้
เมื่อเป็นโรคหูดหงอนไก่ควรดูแลตนเองอย่างไร?
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคหูดหงอนไก่ ได้แก่
● ติดตามการรักษาโดยการมาพบแพทย์ตามนัดเสมอ● งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษา หรือหากจำเป็นให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
●
พาคู่นอนมาทำการตรวจและรักษาด้วยเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำกันไปมา
● หากสัมผัสรอยโรคให้ล้างบริเวณที่สัมผัส และล้างมือมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
● ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เป็นประจำ
● รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น